ติดตามข้อมูลข่าวสาร อบจ.น่าน ได้ที่ เพจองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน เว็บไซต์ อบจ.น่าน www.nanpao.go.th  
 
 
 
 
 ประวัติจังหวัด
 ที่ตั้งและอาณาเขต
 การเดินทาง
 ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัด
 เทศกาลและประเพณีจังหวัด
 ที่พัก ร้านอาหาร
 แหล่งท่องเที่ยว
 ข้อมูลคลังปัญญาจังหวัดน่าน
 
 
 
 ประวัติความเป็นมา
 วิสัยทัศน์ อบจ.
 ตราสัญลักษณ์
 ข้อบัญญัติ อบจ.น่าน
 
 โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของ อบจ.น่าน
  คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน
  สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน
  สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
  กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
  กองช่าง
  กองการเจ้าหน้าที่
  กองสาธารณสุข
  กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
  กองคลัง
  กองพัสดุและทรัพย์สิน
  สำนักเลขานุการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
  หน่วยตรวจสอบภายใน
 
อำนาจหน้าที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน
สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สำนักงานเลขานุการ อบจ.
กองคลัง
กองช่าง
กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
กองพัสดุและทรัพย์สิน
กองการเจ้าหน้าที่
กองสาธารณสุข
หน่วยตรวจสอบภายใน
 
 
  แผนยุทธศาสตร์
  แผนพัฒนาท้องถิ่น
  แผนการขับเคลื่อนหน่วยงาน
  แผนดำเนินงานประจำปี
  รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงาน รอบ 6 เดือน
  รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
  รายงานประจำปี
 
  พ.ร.บ./พ.ร.ก.
  กฎกระทรวง/ระเบียบฯ
  ระเบียบกฏหมายอื่นๆ
 กฎกระทรวง ตาม พร.บ.อบจ. พ.ศ. 2540
 พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด
 พระราชบัญญัติกระจายอำนาจ
 ประกาศคณะกรรมการกระจายอำนาจ
 พ.ร.บ.อบจ. พ.ศ. 2540
 ระเบียบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน
 
 
แบบสอบถามความพึงพอใจ
อบจ.น่าน
 

 
 
 
 
แบบสำรวจความคิดเห็น
ท่านต้องการให้ อบจ.พัฒนาในส่วนใดมากที่สุด
ด้านการคมนาคม
ด้านการประชาสัมพันธ์ข้อมูล
ด้านการส่งเสริมอาชีพ
ด้านระบบสาธารณูปโภค
 
 
 
  18.97.14.81    
 
 
ประวัติจังหวัด
_______________________________________________________________________________________________________
ประวัติจังหวัด
 

ประวัติศาสตร์เมืองน่าน 1

          จากหลักฐานทางโบราณคดี การขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีภูซางและแหล่งโบราณคดีในเขตลำน้ำซาว พบหลักฐานเครื่องมือหินซึ่งกำหนดอายุได้ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ต่อเนื่องมาในช่วงสมัยประวัติศาสตร์ โดยพบการใช้เครื่องมือหินอยู่ในชั้นหลักฐานเดียวกันกับเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาเผาโบราณบ่อสวก เมื่อราว ๗๐๐ – ๘๐๐ ปีมาแล้ว ทำให้เชื่อได้ว่า จังหวัดน่านน่าจะเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ ซึ่งทำให้มีการอยู่อาศัยมาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงประวัติศาสตร์ตอนต้นของเมืองน่าน ปรากฏเป็นหลักฐานจากพื้นเมืองหรือพงศาวดาร ซึ่งได้เล่าเป็นตำนานหรือนิทานเกี่ยวกับกษัตริย์น่าน คือ ขุนนุ่น ขุนฟอง กล่าวคือ บริเวณ ลุ่มลำน้ำย่าง มีเมืองย่าง ซึ่งปกครองโดย พระญาพูคา พระญาพูคาได้พบไข่สองใบ และต่อมาได้กำเนิดเป็นพี่น้องสองคน คือ ขุนนุ่น และขุนฟอง ขุนนุ่นได้ไปปกครองเมืองจันทบุรีหรือหลวงพระบาง ส่วนขุนฟอง ได้ก่อร่างสร้างเมืองพลัว หรือเมืองปัว หรือวรนคร ขึ้น

          จากการศึกษาร่องรอยเมืองโบราณบริเวณลุ่มลำน้ำย่าง พบว่ามีคูน้ำคันดิน อันแสดงถึงชุมชนหรือเมืองโบราณอยู่บริเวณ รอยต่อระหว่าง บ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา และบ้านหนอง ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว มีคูน้ำคันดิน อย่างน้อยสองลักษณะ คือ คูน้ำคันดินสามชั้น และคูน้ำคันดินชั้นเดียว  นอกจากตำนานแล้ว ในเอกสารในช่วงรัชกาลที่ ๕ ยังได้กล่าวถึง เมืองย่าง และเมืองยม ว่าเป็นเมืองในลุ่มน้ำย่างอีกด้วย

          บริเวณเมืองปัวในปัจจุบัน ยังพบร่องรอยของคูน้ำคันดิน อันเป็นหลักฐานแสดงถึงความเป็นชุมชนหรือเมืองโบราณ โดยพบว่ามีการขยายของเมืองปัวหลายครั้ง เมืองปัวถือว่าเป็นเมืองใหญ่ และสำคัญของน่านตลอดมา แม้แต่ในปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางของชุมชนทางเหนือของน่าน ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ในพื้นเมืองน่านฉบับวัดพระเกิด กล่าวว่า จุลศักราชที่ ๗๑๘ (พ.ศ. ๑๘๙๙) พระญาครานเมือง กษัตริย์เมืองปัว ได้รับเชิญจาก พระยาโสปัตตคันธิราช ผู้ครองเมืองสุโขทัย ลงไปช่วยสร้างวัดพระหลวงอภัย และพระยาสุโขทัยได้มอบธาตุ พระเจ้า ๗ องค์ พร้อมพระพิมพ์เงินพระพิมพ์ทอง ให้แก่พระยาครานเมือง

          พระยาครานเมือง ด้วยคำแนะนำของมหาเถร จึงได้นำพระธาตุพร้อมพระพิมพ์เงินพระพิมพ์ทองประดิษฐานไว้ยังพูเพียง และเป็นเหตุให้มีการย้ายศูนย์กลางการปกครองลงมายังพูเพียงแช่แห้งในเวลาต่อมา หากแต่สันนิษฐานว่าเมืองปัวก็ยังคงมีเจ้าผู้ครองนครเช่นเดิม หากแต่ลดความสำคัญลง บริเวณพูเพียงต่อมาได้ชื่อว่า เวียงแช่แห้ง มีเรื่องเล่าถึงที่มาว่า เกิดจากการนำไม้ที่จะในการก่อสร้างซึ่งมีจำนวนมาก มาแช่ในน้ำ และน้ำเกิดแห้ง จึงได้เรียกเมืองแห่งนี้ว่า “แช่แห้ง”

          เมื่อพระยาครานเมืองได้พิราลัยลง พระญาผากองเจ้าผู้ครองเมืองปัวได้ลงมาปกครองเวียงแช่แห้งแทน และในเวลาต่อมา พระญาผากองได้ย้าย ศูนย์กลางการปกครองอีกครั้ง โดยย้ายไปยังทางทิศตะวันตกของแม่น้ำน่าน ซึ่งในขณะนั้น เป็นที่ตั้งของบ้านห้วยไคร้ อันเป็นที่ตั้งของเมืองน่านในปัจจุบัน เมื่อราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ในพงศาวดารเมืองน่านฉบับวัดพระเกิด ระบุช่วงเวลา คือ จุลศักราชที่ ๗๘๐ (พ.ศ.๑๙๖๑)

          ด้วยเมืองน่านเป็นที่ตั้งของแหล่งเกลือบกหรือเกลือภูเขา ซึ่งเป็นทรัพยากรอันสำคัญในช่วงเวลานั้น เมืองน่านจึงเป็นที่หมายตาของเจ้าต่างเมืองใกล้เคียง เช่น เมืองแพร่ เมืองพะยาว และในพงศาวดารฉบับวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารได้กล่าวว่า พระญาติโลกราชเมืองเชียงใหม่ได้ยกไพร่พลมารบเพื่อต้องการส่วยจากเมืองน่าน เจ้าผู้ครองเมืองน่าน ขณะนั้น คือ พระญาอินทะแก่น ได้พ่ายแพ้และหนีไปพึ่งพิงพระญาเชลียงผู้เป็นพระสหาย ในปีจุลศักราช ๘๑๒  (พ.ศ. ๑๙๙๓) และให้พระญาผาแสงผู้เป็นน้องขึ้นครองเป็นเจ้าผู้ครองนครน่านแทน และเมื่อล้านนาตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า เมืองน่านในฐานะเมืองขึ้นของเวียงพิงค์เชียงใหม่ก็ตกอยู่ในสถานะเช่นเดียวกัน ผู้ครองนครน่านสับเปลี่ยนหมุนเวียนมาจากเมืองต่างๆภายใต้การปกครองของเชียงใหม่และพม่า

          จุลศักราชได้ ๑๐๘๘ (พ.ศ. ๒๒๖๙) พระญาหลวงตืนมหาวงศ์ เมืองเชียงใหม่ได้รับพระราชานุญาต จากกษัตริย์อังวะให้มาครองเมืองน่าน ซึ่งเจ้าผู้ครองนครน่านนับจากนั้นจนถึงองค์สุดท้าย ล้วนมีเชื้อสายสืบมาจากเจ้าผู้ครองนครองค์นี้ เจ้าผู้ครองนครน่านและเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่จึงถือได้ว่ามีเชื้อสายเดียวกัน

          ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ พม่าได้ยกกองทัพเข้าตีล้านนาและกรุงศรีอยุธยา เมืองส่วนใหญ่ในล้านนาต่อต้านการปกครองของพม่า เกิดสงครามไปทุกหัวระแหง จนเมื่อ พระบาทสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่หนึ่งได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ จุลศักราช ๑๑๕๐ (พ.ศ. ๒๓๓๑) เจ้าฟ้าอัทธวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่านได้ลงไปทูลพระมหากษัตริย์ที่กรุงเทพฯ และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน นับแต่นั้น เมืองน่านจึงอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าฟ้าอัทธวรปัญโญ ทรงสร้างความชอบไว้มากมาย เป็นที่พอพระราชหฤทัยของรัชกาลที่หนึ่ง จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น เจ้าฟ้าอัทธวรปัญโญ ผู้เป็นเสมือนพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์

          ในสมัยเจ้าสุมนเทวราชครองเมืองน่าน จุลศักราช ๑๑๗๙ (พ.ศ.๒๓๖๐) เมืองน่านเกิดน้ำท่วมใหญ่ เจ้าสุมนเทวราช จึงได้ขอพระราชทานอนุญาตจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ย้ายศูนย์กลางการปกครองไปยังดงพระเนตรช้าง ห่างจากเมืองเก่าน่านไปทางทิศเหนือ ประมาณ ๓๖ เส้น หรือ ๑,๔๔๐ เมตร เรียกว่า เวียงเหนือ คู่กับเมืองเก่าน่าน ว่า เวียงใต้

          เมื่อแม่น้ำน่านได้เปลี่ยนทางเดินน้ำถอยห่างออกจากเมืองน่านเดิมหรือเวียงใต้ ในปีจุลศักราช ๑๒๑๗ (พ.ศ.๒๓๙๘) เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ ได้ขอพระราชทานอนุญาตจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซ่อมแซมเมืองเก่าน่านและย้ายศูนย์กลางการปกครองกลับมายังเมืองน่านเดิม ณ ที่ตั้งเมืองน่านปัจจุบันอีกครั้ง

          ตลอดระยะเวลาที่อยู่ภายใต้โพธิสมภารของกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองน่านอยู่ในฐานะเมืองประเทศราช มีเจ้าผู้ครองนคร ปกครองตนเอง แม้จะมีการปฏิรูปการปกครองโดยกรุงเทพฯ ส่งข้าหลวงเพื่อมาช่วยในการราชการบ้านเมืองก็ตามที แต่เมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ ถึงแก่พิราลัย ในปี ๒๔๗๔ หลังจากนั้นก็ไม่มีการแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครน่าน ถือว่าความเป็นเมืองประเทศราชของน่านสิ้นสุดลง จังหวัดน่านได้เปลี่ยนแปลงเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย

1, สารานุกรมจังหวัดน่าน, องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน, 2557. (สิริพัฒน์  บุญใหญ่ ผู้เขียน)

 
 
  ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
  แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
  รายงานการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ รอบ 6 เดือน
  รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
 ข้อมูลการใช้จ่ายเงินสะสม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
 ข้อมูลการใช้จ่ายเงินสะสม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
 รายงานการตรวจสอบการเงินประจำปี
  แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ
  ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
  ผลประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง
  สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุรายเดือน
  รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี
  ราคากลางจัดซื้อจัดจ้าง
  ประกาศผู้เสนอราคา
  นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
  การดำเนินการตามนโยบายการบริหาร ทรัพยากรบุคคล
  หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
  รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
  มาตรฐานการปฏิบัติงาน
  การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
  นโยบายไม่รับของขวัญ (no gift policy)
  การติดตามนโยบายไม่รับของขวัญ
  แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
  ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตประจำปี
   ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริต
 แนวทางการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
  การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี
  การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต
  แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปี
  รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปีรอบ 6 เดือน
  รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
  มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงาน
  การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงาน
  มาตรฐานการให้บริการ
  ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
  รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ
 การแจ้งไฟฟ้าส่องสว่าง ถนน อบจ.น่าน ผ่านคิวอาร์โค้ด
 การขอรับบริการ E -Service กู้ภัย อบจ.น่าน ผ่าน QRCode
       
 
 
โทรศัพท์ ๐-๕๔๗๑-๖๐๐๐  โทรสาร ๐-๕๔๗๑-๖๓๖๕ E-Mail :   saraban@nanpao.go.th
สงวนลิขสิทธิ์ © โดย MediaCreativeCenter 08-7776-6615
การแสดงผลบนหน้าเว็บไซต์จะสมบูรณ์ที่สุดในระบบ Google Chrome, Mozilla Firefox, Microsoft Internet Explorer 10 ขึ้นไป
หน้าแรก  I   กระดานถาม-ตอบ  I  แผนผังเว็บไซต์  I  ติดต่ออบจ.